POPS WORLDWIDE - LEADING DIGITAL ENTERTAINMENT IN SOUTHEAST ASIA

Blogs

แคมเปญ Influencer ของแบรนด์เครื่องสำอาง ใช้ YouTube / Instagram / TikTok แพลทฟอร์มไหนดี ?

2021/02/28

แบรนด์เครื่องสำอางเป็นสินค้าหนึ่งที่มีการแข่งขันกันสูงมากในการทำแคมเปญ Influencer Marketing ทั้งการรีวิวสินค้า หรือ Product placement ตามช่องทางต่าง ๆ ซึ่งนับวันจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างสูงขึ้นเรื่อย ๆ แบรนด์จึงต้องพิจารณาให้ละเอียดมากขึ้น ถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละแพลทฟอร์มเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

YouTube
จากการรายงานของ Omnicore และ Tubular Insights ระบุว่า ผู้หญิงมากถึง 95% ดูวิดีโอเกี่ยวกับความงามบนยูทูป ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด และคนดูมีแนวโน้มที่จะเชื่อถือการรีวิวจากคนที่ตัวเองติดตาม โดย 70% ของผู้ซื้อสินค้าในปี 2020 ล้วนได้รับอิทธิพลจากการดูวิดีโอที่พบเห็นสินค้าหรือแบรนด์ 

  • ข้อดี
    • คนดูยูทูปค่อนข้างหลากหลาย มีแทบทุกเพศทุกวัย 
    • ยูทูปเป็นแพลทฟอร์มวิดีโอขนาดยาว เป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการโชว์สินค้าในการใช้งานจริง
    • คนทำรีวิวจะมีผู้ติดตามสูง และเป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่าย

  • ข้อเสีย
    • แบรนด์ไม่อาจควบคุมการถ่ายทำ หรือใส่ข้อความของแบรนด์ลงไปในวิดีโอทั้งหมด เพราะยูทูปเบอร์แต่ละช่องจะมีสไตล์ของตนเองที่แฟน ๆ ชอบ ไม่อาจยัดเยียดการโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์โดยตรงได้
    • หากแบรนด์ไม่มีตัวช่วยหรือเครื่องมือที่ดี อาจจะเสียเวลาและงบประมาณมหาศาลในการทำแคมเปญ แต่แบรนด์สามารถใช้บริการของบริษัท MCN ให้เป็นตัวแทนบริหารจัดการแคมเปญ และประสานงานกับยูทูปเบอร์ในเครือข่ายให้ได้สะดวกสบายและอาจมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่ากว่าด้วย

ภาพถ่ายโดย Lisa Fotios จาก Pexels

Instagram

ไอจี ยังคงเป็นแพลทฟอร์มที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์ต้องการให้สินค้าเครื่องสำอางเสริมความงามของตนได้รับการพบเห็นเยอะๆ ซึ่งแพลทฟอร์มนี้มีฟิลเตอร์สวยๆ ที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าได้ และกลุ่มคนที่ติดตาม Influecner บนไอจี ยังคงสร้าง Conversion ให้กับสินค้าเครื่องสำอางที่ถูกแท็กบนหน้าแพลทฟอร์มได้อยู่

  • ข้อดี
    • Instagram เป็นแพลทฟอร์มที่เปรียบเหมือนสรวงสวรรค์ของสินค้าประเภทความงาม เพราะยังมีคนเล่นไอจีอีกมาก ที่เข้ามาดูและค้นหาสินค้าเสริมความงามและเครื่องสำอางใหม่ ๆ จากแพลทฟอร์มนี้โดยเฉพาะ
    • Instagram Stories ยังเป็นช่องทางที่น่าสนใจในการโปรโมทสินค้า เพราะการที่ถูกวางไว้ด้านบนของแพลทฟอร์ม ทำให้เป็นจุดสนใจได้ทันทีโดยไม่ต้องกดเข้าดูโปรไฟล์ในหน้าฟีด
    • หากแบรนด์มี Shop บน Facebook และ Instagram สามารถแท็กสินค้าในโพสต์ของ Influencer เพื่อสร้างยอดขายได้ทันที

  • ข้อเสีย
    • เป็นแพลทฟอร์มที่มีการแข่งขันกันขายสินค้าด้านความงามสูงมาก และอาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายแพงเกินจริงในการจ้าง Influencer หรือทำโฆษณา
    • Engagement Rate ของแคมเปญบนไอจี ต่ำมาก โดยไอจี มีค่าเฉลี่ย Engagement แค่ 2.4% เทียบกับยูทูป ซึ่งมี 6.2% และ แคมเปญที่ประสบความสำเร็จบนติ๊กต๊อก สามารถสร้าง Engagement ได้สูงถึง 8.3% (อ้างอิงจาก Glossy.co
    • ความน่าเชื่อถือของแคมเปญ Influencer บนไอจี เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยผู้ใช้งานส่วนมากเริ่มจับทางได้แล้วว่าผู้รีวิวนั้นไม่ได้ใช้งานจริง และการโปรโมทไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
    • หลังจากที่เริ่มมีการทดสอบการเอาตัวเลขผู้ติดตามออกจาก ไอจี ในบางประเทศ ทำให้ Influencer บางส่วนตัดสินใจเลิกใช้แพลทฟอร์มนี้ไปแล้ว

ภาพถ่ายโดย cottonbro จาก Pexels

TikTok

ช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ติ๊กต๊อก กลายเป็นแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงมาก ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น Gen Z บุคคลธรรมดา หรือ “Micro Influencer” ที่มีความ “สมจริง” ในการโปรโมทสินค้า และด้วยเหตุผลนี้ ทำให้แบรนด์เครื่องสำอางหลายแห่ง หันมาโฟกัสการทำ Influencer Marketing บนติ๊กต๊อกมากขึ้นด้วย

  • ข้อดี
    • คู่แข่งน้อยกว่า จึงทำให้มีโอกาสได้ Engagement Rate สูงกว่าอินสตาแกรม หรือยูทูป
    • ติ๊กต๊อกมีความเรียบง่ายในการถ่าย ไม่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือหรือคุณภาพของไฟล์เท่ากับแพลทฟอร์มอื่น ทำให้แบรนด์ไม่ต้องคิดมากในการสร้างแคมเปญโปรโมทสินค้าบนติ๊กต๊อก
    • สามารถโปรโมทสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ โดยแทบจะไม่มีคู่แข่งในตอนนี้

  • ข้อเสีย
    • ยังถือว่าเป็นแพลทฟอร์มใหม่ และเสี่ยงต่อการโดนแบนในหลายประเทศ จึงยังคงมีคำถามว่าสามารถลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์ในระยะยาวได้หรือไม่
    • ยังไม่มีฟังก์ชั่น การคลิกเพื่อซื้อสินค้าบนแพลทฟอร์มโดยตรง จึงยังไม่เหมาะสำหรับการสร้างยอดขายผ่านแคมเปญบนติ๊กต๊อก
    • กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ติ๊กต๊อก ยังคงเป็นกลุ่มวัยรุ่น หรือ First Jobber ที่อาจจะไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ 
    • ถ้าแบรนด์มีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างมีอายุ แต่อยากซื้อแคมเปญบนติ๊กต๊อกด้วยกลยุทธ์ระยะยาวกับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น จะวัดผล ROI ได้ยาก จึงเหมาะสำหรับเป็นทางเลือกในการสร้าง Awareness เท่านั้น 

ทั้งสามแพลทฟอร์มเป็นช่องทางที่แบรนด์จะต้องตัดสินใจในการวางกลยุทธ์อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ได้ Return กลับมาอย่างน่าพึงพอใจตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำแคมเปญ Influencer Marketing ที่ต้องการ การมีผู้ช่วยที่มีความชำนาญในการสร้างแคมเปญออนไลน์จะช่วยประหยัดเวลาสำหรับการเลือก Influencer ที่เหมาะสมลงได้มาก


ต้องการผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาทีมงาน Brand & Ads Solution ของ POPS ได้ที่ phakaporn@popsww.com

Source : 

http://learn.podium.com/rs/841-BRM-380/images/2017-SOOR-Infographic.jpg
https://www.pixlee.com/blog/youtube-vs-instagram-vs-tiktok-which-channel-is-best-for-cosmetics-brands/