Blogs
การทำแคมเปญการตลาดด้วย อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) บนแพลทฟอร์มแต่ละประเภทนั้น ไม่สามารถวัดผลด้วย KPI และ ROI แบบเดียวกันได้ เพราะแต่ละแพลทฟอร์มมีจุดเด่นแตกต่างกัน หากวัดผลเหมือนกัน อาจทำให้แบรนด์เข้าใจผลของแคมเปญผิดจากความเป็นจริงได้
วิดีโอบน YouTube มีความแตกต่างจากภาพนิ่งบน Instagram เราจึงไม่สามารถวัดผลแค่เพียง Impression, View หรือ Engagement Rate แต่เพื่อให้ได้ผลของแคมเปญอย่างชัดเจน แบรนด์ต้องวัดผลของยูทูปเบอร์ ด้วยรายละเอียดเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ จากผู้จัดการหลังบ้านของยูทูปช่องนั้นๆ
Audience Retention
สิ่งสำคัญอันดับแรกในการวัดผล คือ Audience Retention ที่จะดูลึกลงไปกว่าแค่ยอดวิว เพราะไม่ว่าจะได้วิวหลักล้าน ก็ไม่มีความหมาย หากคนดูไม่ได้เห็น Product จริงๆ เพราะยอดวิวของยูทูปนั้นจะนับเมื่อคนดูครบ 30 วินาที แต่หากสินค้าของแบรนด์อยู่กลางคลิป จะต้องดูกราฟ Retention ว่าตอนพูดถึงสินค้านั้น มีคนดูเท่าไหร่กันแน่ ถึงจะได้จำนวนการพบเห็นสินค้าที่แท้จริง (True Views)
Audience Demographics
อันดับต่อมาที่แบรนด์ควรจะต้องให้ความสนใจในการทำแคมเปญ Influencer กับ ยูทูปเบอร์ คือ ข้อมูลของคนดู ซึ่งจะทำให้แบรนด์สามารถวัดผลได้ว่าเลือกยูทูปเบอร์มาทำแคมเปญไม่ผิดกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงเข้าใจเกี่ยวกับผู้บริโภคที่สนใจสินค้าได้ดีขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจจะมีบางอย่างที่ทำให้แบรนด์คาดไม่ถึงและพบกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้เช่นกัน
Engagement Rate
เปอร์เซนต์การมีส่วนร่วมของคนดู ต่อคลิปวิดีโอนั้น จะช่วยชี้วัดว่ายูทูปเบอร์ที่เลือกมาทำแคมเปญ สามารถผลิตงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่ ยิ่งได้รับ Engagement Rate สูง ระบบอัลกอริทึ่มของยูทูปก็จะแนะนำวิดีโอให้คนดูเยอะขึ้น อย่างไรก็ตามแบรนด์ควรศึกษาเทคนิค การใช้ Influencer อย่างไรให้ Effective ด้วย เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำแคมเปญ Influencer Marketing
Traffic Sources
แหล่งที่มาของคนดูวิดีโอ จะทำให้แบรนด์ทราบได้อย่างแท้จริงว่า คนดูวิดีโอนั้น มาจากช่องทางใดบ้าง และคนดูที่มาจากช่องทางไหน มีความสนใจในตัวสินค้ามากที่สุด สามารถนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมสำหรับแคมเปญการตลาดต่อเนื่องได้
CPM (Cost per mile / cost per 1,000 views)
ค่า CPM คือสิ่งที่จะทำให้แบรนด์สามารถประเมินได้ว่า มูลค่าที่จ่ายไปในการทำแคมเปญ Influencer Marketing ครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในการพบเห็นสินค้า 1,000 ครั้ง โดยการคำนวณ ไม่ควรคำนวณจากยอดวิวทั้งหมดของวิดีโอ แต่จะต้องคิดจาก Audience Retention ของช่วงเวลาที่แสดงสินค้าในวิดีโอนั้น ถึงจะได้มูลค่าที่แท้จริง
แบรนด์สามารถเปรียบเทียบกับ CPM ที่เกิดขึ้นจากค่าโฆษณาของช่องยูทูปในช่วงเวลานั้นได้ด้วย ซึ่งสามารถประเมินได้ว่า การลงทุนทำแคมเปญ Influencer Marketing คุ้มค่ากว่าแค่การซื้อโฆษณา Placement ในช่องยูทูปนั้นหรือไม่
Click Through Rate (CTR)
อันดับต่อมาที่แบรนด์ควรจะดูในการทำแคมเปญ Influencer กับ ยูทูปเบอร์ คือ CTR หรือ เปอร์เซนต์การคลิกเข้าดูวิดีโอจากการแสดงผล แม้จะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อสินค้าหรือแบรนด์ แต่สิ่งนี้จะชี้วัดผลประสิทธิภาพของวิดีโอนั้น ว่าคนดูชอบมากน้อยแค่ไหน หากมี CTR สูงๆ อัลกอริทึมของยูทูปจะเสิร์ฟวิดีโอนั้นให้คนดูมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้สินค้าของแบรนด์มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้นด้วยนั่นเอง
Conversion / CPA (Cost per acquisition)
การวัดผล ROI จะเกิดขึ้นในขั้นตอนสุดท้ายตามวัตถุประสงค์ที่แบรนด์ต้องการ เช่น การเพิ่มยอดขายในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือ ยอดขายหน้าร้าน ซึ่งการวัดผล ROI ที่เกิดขึ้นจาก Conversion นั้น สามารถทำได้ใน 3 รูปแบบ คือ
สิ่งเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณ ROI ได้อย่างชัดเจนทุกบาททุกสตางค์ ว่าแคมเปญที่ทำไปนั้น ได้ผลตอบรับกลับมาดีเกินคุ้มหรือไม่
หากแบรนด์กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและทำแคมเปญ Influencer Marketing ที่ POPS Thailand ซึ่งเป็น YouTube Certified สามารถดึงข้อมูลหลังบ้านเหล่านี้วิเคราะห์ให้กับแบรนด์ได้ เพื่อการวัดผลแคมเปญที่ดีขึ้น ติดต่อเราได้ที่ phakaporn@popsww.com